สาระน่ารู้เรื่องบ้าน

อิฐมอญ / อิฐบล็อก / อิฐมวลเบา มีความแตกต่างกันอย่างไร

 

อิฐมอญ / อิฐบล็อก / อิฐมวลเบา มีความแตกต่างกันอย่างไร

 

หลายๆคนคงเคยเจอกับทำถามของช่างที่ทำบ้านใช่ไหมครับว่าลูกค้าจะใช้เป็นอิฐตัวไหนทำกำแพงหรือผนังบ้าน แน่นอนครับว่าเจ้าของบ้านแบบเราไม่ค่อยมีความรู้กับเรื่องพวกนี้สักเท่าไหร่ งั้นเรามาดูกันว่าอิฐแต่ล่ะชนิดมีความแตกต่างกันอย่างไร และมีข้อดีและข้อเสียอะไรบ้าง

 

อิฐมอญ  หลายคนคงเคยเห็นผ่านตากันมาบ้าง มันคือ อิฐที่บ้านเราสามารถผลิตกันเองได้ ทำมาจากดินเหนียว มีลักษณ์โดดเด่นเลยคือเป็น สีแดง หรือ สีส้มอิฐ เหมาะนำมาใช้กับ งานผนังบ้าน และ งานกำแพงภายนอกนั้นเอง 

จุดเด่น  มีคุณสมบัติพิเศษที่ความคงทนต่อสภาพอากาศที่ร้อนและชื้นของประเทศไทย ทนแดด ทนฝน ได้ดี จึงทำให้เป็นที่นิยม ข้อดีอีกอย่างที่มีของตัวอิฐมอญเลยคือราคาที่ถูกนั้นเอง

จุดด้อย  คือ มีน้ำหนังที่คอนข้างมาก นำมาใช้งานยาก เพราะการผลิตวัสดุไม่ได้มีมาตรฐาน รวมไปถึงการทำผนังบ้านด้วยอิฐมอญ อาจจะทำให้ภายในตัวบ้านร้อนขึ้นด้วย เพราะอิฐมอน เป็นวัสดุที่สะสมความร้อน และจะถ่ายเทความร้อนออกมายังพื้นที่ที่มีอุณหภูมิต่ำกว่า ทำให้ห้องต่างๆภายในบ้านเกิดความร้อนสะสมนั้นเอง

 

อิฐบล็อก หรือ คอนกรีตบล็อก   อิฐตัวนี้ถูกผลิตมาเพื่อใช้งานลักษณะอุตสาหกรรมมากกว่า อิฐมอญ ส่วนใหญ่จะเป็น สีเทา ลักษณะเด่นคือมีรูตรงกลาง เพื่อช่วยลดการถ่ายเทความร้อนได้ดีกว่าอิฐมอญ ตัวอิฐบล็อคจะเหมาะสมกับ งานก่อผนังอาคารทั่วไป  และได้รับความนิยมมากกว่าอิฐมอญ

จุดเด่น  มีราคาถูกมาก เมื่อเทียบกับอิฐชนิดอื่นๆ สะดวกในการก่อสร้าง งานเสร็จรวดเร็วกว่า เพราะมีขนาดก้อนที่ใหญ่ และ ระบายความร้อนได้ดีกว่าตัวอิฐมอญ

จุดด้อย   คือตัวบล็อคจะรับแรงกดได้น้อยกว่า ประเภทอื่นๆ รวมถึงรับน้ำหนักจากการแขวนมากๆไม่ได้ ไม่เหมาะกับการเจาะผนังเพื่อยึดติดอุปกรณ์ต่างๆที่มีน้ำหนักมาก เพราะเปราะง่าย

 

อิฐมวลเบา หรือ คอนกรีตมวลเบา   อิฐตัวนี้ถือเป็นวัสดุก่อสร้างที่ได้รับความนิยมมากในปัจจุบัน มีขนาดก้อนที่ใหญ่กว่าอิฐชนิดอื่น เหมาะกับการก่อสร้างในส่วนผนังหลักของบ้าน อาคาร หรือ ห้องที่ต้องการความเย็นสบาย และ เก็บเสียงได้ดี เช่น ห้องนอน นั้นเอง

จุดเด่น  ทนทานต่อไฟ แข็งแรง รับแรงกดได้มาก สะดวกในการก่อสร้าง น้ำหนักเบา และ ไม่ดูดซับความร้อนทำให้ภายในห้องต่างๆเย็นสบาย เก็บเสียงได้ดี 

จุดด้อย คือ อิฐมวลเบาจะมีราคาที่คอนข้างสูงกว่าอิฐชนิดอื่นๆ

 

อิฐช่องลม หรือ บล็อกช่องลม  หลายคนคงเคยเห็นผ่านตามาบ้าง ตามรั่วบ้าน หรือ กำแพงบ้าน ในปัจจุบันมีการนำ บล็อกช่องลม หรือ อิฐช่องลม กลับมาใช้งานแพร่หลายมากขึ้น ด้วยรูปแบบและหน้าตาของบล็อกช่องลมที่ดูโมเดิร์น และ เหมาะกับยุดสมัยเรามากขึ้น ทำให้เราสามารถนำไปประยุคต์ใช้กับพื้นที่ต่างๆ ภายในบ้านได้หลากหลายความต้องการมากขึ้น

จุดเด่น  ถ่ายเทอากาศได้ดี เหมาะกับสภาพอากาศร้อนขื้นของบ้านเรา แสงธรรมชาติสามรถผ่านเข้าได้ เป็นอีก 1 ทางเลือกในการประหยัดพลังงาน และยัง ป้องกันแดด -ฝน ได้เหมาะสำหรับใช้ในพื้นที่กึ่ง outdoor 

จุดด้อย  เศษฝุ่นที่ค่อย ๆ สะสม หากไม่ดูแลเรื่องความสะอาด อาจทำให้ดูไม่สวยงามในอนาคตได้

 

 

ไม้เชิงชาย 2in1

ทำไมต้องใช้ไม้เชิงชาย?

ไม้เชิงชาย Eaves

ทำไมต้องใช้ไม้เชิงชาย?

ไม้เชิงชาย เป็นส่วนประกอบหลักอย่างหนึ่งของหลังคาบ้าน ทำหน้าที่ปิดฝ้าชายคาและยึดแนวปลายจันทันไว้ด้วยกัน เพื่อไม่ให้เกิดการบิดโก่ง 

 

ไม้เชิงชาย Conwood ต่างกับไม้เชิงชายยี่ห้ออื่นอย่างไร?

 

การติดตั้งไม้เชิงชายทั่วไป – ติดตั้งไม้เชิงชายแผ่น 8 นิ้วก่อน แล้วก็ติดตั้งไม้เชิงชายแผ่น 6 นิ้วทับเข้าไป (ต้องติดตั้ง2รอบ)

 

แต่ Conwood 2in1 สามารถติดตั้งได้ในครั้งเดียว เพราะได้นำแผ่น8นิ้วมาประกบกับแผ่น6นิ้วเรียบร้อยแล้ว

 

ทำให้ใช้งานได้สะดวก, ไว,ประหยัดเวลากว่าในการติดตั้ง, ทั้งยังช่วยปรับแนวชายคาที่ยึดหัวจันทันให้เป็นแนวตรงสวยงาม ตัดปัญหาความชำนาญของผู้ใช้.

ไม้เชิงชาย 2in1
ไม้เชิงชาย 2in1

(ไม้เชิงชาย 2in1 สีงาช้างหรือสีครีม)

ไม้เชิงชาย 2in1

(ไม้เชิงชาย 2in1 สีมะฮอกกานี)

ภาพตัวอย่างที่ใช้ไม้เชิงชาย 2 in 1 คอนวูด

เชิงอรรถ :

จันทัน (Rafter) เป็นส่วนประกอบหนึ่งของโครงสร้างหลังคา มีหน้าที่รองรับและถ่ายเทน้ำหนักจากแปไปสู่อะเสหรือเสา แบ่งออกเป็น จันทันเอก (จันทันที่พาดอยู่บนหัวเสา) และจันทันพราง (จันทันที่พาดอยู่บนอะเส) มีระยะการติดตั้งต่างกันไปตามประเภทของโครงหลังคา (ไม้ เหล็กรูปพรรณ หรือเหล็กเคลือบกัลวาไนซ์) รวมถึงขนาด และระยะแป ดังนั้นควรปรึกษาวิศวกร หรือศึกษาข้อมูลการติดตั้งของวัสดุมุงหลังคาแต่ละประเภทให้ดี 

สร้างบ้านอย่างไรไม่ให้เกินงบประมาณที่ตั้งไว้

เมื่อมีความคิดว่าจะสร้างบ้านอย่างแรกที่คนส่วนใหญ่มักจะเกิดความกังวลก็คืองบประมาณในการก่อสร้างซึ่งหลาย ๆ คนที่สร้างบ้านมาแล้วจะบ่นให้ได้ยินว่างบประมาณบานปลาย หรือพูดง่าย ๆ ว่าราคาในการก่อสร้างเกินมาจากงบการเงินที่ตั้งไว้มาก โดยสาเหตุของงบประมาณบานปลายมาจากสองสาเหตุหลัก ๆ ก็คือ

 

1 ผู้รับเหมาไม่เป็นมืออาชีพ

การเลือกผู้รับเหมาที่ทำการก่อสร้างบ้านนั้นเป็นเรื่องที่สำคัญมาก ๆ ในการก่อสร้างบ้าน ปัญหาที่มักพบระหว่างการก่อสร้างก็คือการที่ผู้รับเหมาหนีงานหรือทิ้งงานเหตุผลส่วนใหญ่ที่ผู้รับเหมาทิ้งงานมักมาจาก 2 ปัจจัยก็คือการประเมินราคาที่ต่ำ ผู้รับเหมาต้องการได้งานจึงตีราคาการก่อสร้างบ้านต่ำ เจ้าของบ้านเองก็เลือกให้ทำงาน

เพราะเห็นว่าได้ราคาที่ถูกกว่าผู้รับเหมาเจ้าอื่น ๆ ผู้รับเหมาไม่มาหน้างานทำให้งานล่าช้างบจึงบานปลาย หรือผู้รับเหมาใช้วัสดุที่ไม่ตรงกับสเป็คที่วางไว้ ทำให้งานออกมาไม่ได้มาตรฐานต้องแก้ ต้องรื้อเป็นสาเหตุให้ต้องเพิ่มค่าใช้จ่ายในการดำเนินการ ภาระมักจะตกอยู่กับเจ้าของบ้านที่จะต้องยอมจ่ายเพิ่มเพื่อให้บ้านสร้างออกมาเสร็จตามที่ต้องการ

 

2 ตัวเจ้าของบ้านเอง

งบประมาณการก่อสร้างที่มักเกินออกมาจะอยู่ในขั้นตอนท้าย ๆ เสียส่วนใหญ่ คือขั้นตอนของวัสดุตกแต่งบ้านในส่วนต่าง ๆ เจ้าของบ้านมีการเปลี่ยนวัสดุและแบบเนื่องจากไม่พอใจกับวัสดุที่ตกลงไว้เดิม อยากได้ในจุดนั้นจุดนี้เพิ่มนั่นเอง ผลก็คืองบประมาณที่ตั้งไว้ก็ต้องมีการปรับเปลี่ยนเพิ่มมากยิ่งขึ้น

 

วิธีสร้างบ้านไม่ให้เกินงบประมาณก็คือ

1 .ออกแบบบ้านให้ได้ในราคาที่ใกล้เคียงกับงบประมาณที่ตั้งไว้ เจ้าของบ้านเองจะต้องควบคุมและตรวจสอบอย่างละเอียดถึงแบบการก่อสร้างที่ต้องได้ในราคาที่ใกล้เคียงงบประมาณจริง โดยเฉลี่ยแล้วควรจะอยู่ที่กี่ตารางเมตรในช่วงเวลาที่สร้างจริงนั้น หรือถ้าเป็นไปได้ เจ้าของบ้านก็สามารถที่จะเลือกซื้อวัสดุต่างๆ ในการก่อสร้างบ้านด้วยตัวเอง เพื่อเปรียบเทียบราคาให้ได้ในราคาที่ถูกและคุ้มค่าที่สุด

 

2 .ระบุรายละเอียดให้ชัดเจนในสัญญาการก่อสร้างแต่แรก เช่น แบบของบ้าน วัสดุต่าง ๆ ที่ใช้ ระยะเวลาการก่อสร้างรวมถึง งบประมาณที่ต้องใช้ และต้องไม่ให้เกินไปจากงบที่ตั้งไว้โดยเด็ดขาด

 

3. ตกลงกับสมาชิกในบ้านถึงรูปแบบความชอบของแต่ละครก่อนลงมือก่อสร้าง เพราะในส่วนการตกแต่งบ้าน วัสดุและค่าใช้จ่ายในขั้นตอนนี้อยู่ที่ประมาณ 30% ของการก่อสร้าง เป็นส่วนที่งบบานปลายได้ง่ายที่สุดจากการเปลี่ยนแบบและสเป็คจากเจ้าของบ้านเอง ถ้าคุมตรงนี้ให้ทำตามแบบที่ตกลงไว้เดิมได้ งบก็จะไม่เกินที่กำหนดไว้ แต่ถ้ามีความจำเป็นหรือความต้องการเปลี่ยนแปลงจริง ๆ ก็ต้องปรึกษาผู้รู้และปรึกษาผู้รับเหมาให้ชัดเจนก่อน เลือกสเป็คของที่มีราคาใกล้เคียงกับของเดิมที่ตกลงไว้

 

ดังนั้นจะเห็นได้ว่า การคุมงบประมาณก่อสร้างบ้านเจ้าของบ้านและผู้รับเหมาจะต้องมีความเข้าใจและตกลงกันอย่างดี เจ้าของบ้านจะต้องมีความละเอียด ทั้งเจ้าของบ้านและผู้รับเหมาควรทำตามแบบและสเป็คที่ตกลงกันไว้แต่แรกทั้งหมด งบก็จะไม่บานปลายอย่างแน่นอน

บ้านชำรุดต้องแก้ไขควรทำอย่างไร

เมื่อบ้านเกิดการชำรุด เสียหาย ไม่ว่าจะเป็นในส่วนของโครงสร้างบ้านซึ่งถือว่าเป็นเรื่องใหญ่ที่อันตรายต่อเจ้าของบ้านและผู้อยู่อาศัย ต้องซ่อมแซมแก้ไขปัญหาอย่างรีบด่วน การชำรุดของส่วนต่าง ๆ เช่นอุปกรณ์ใช้สอยของบ้านหรือวัสดุตกแต่งชำรุดก็ตาม การซ่อมแซมแก้ไขจุดที่ชำรุดเป็นสิ่งที่ควรจะทำเมื่อพร้อม หรือเมื่อเกิดการเสียหาย ไม่ควรปล่อยทิ้งเอาไว้เพราะคิดว่าเป็นเรื่องเล็กน้อย เพราะจุดที่เสียหายชำรุดอาจจะลุกลามบานปลายไปยังจุดต่าง ๆ ของบ้านจนเกิดเป็นอันตรายต่อเจ้าของบ้านหรือผู้อยู่อาศัยได้ ซึ่งการแก้ปัญหาเบื้องต้นเมื่อพบว่าบ้านชำรุดนั้นได้แก่

 

1 สำรวจว่ามีจุดใดบ้างที่ชำรุดเสียหาย

ขั้นตอนแรกก็คือเราจะต้องสำรวจความเสียหายก่อนว่า มีจุดใดที่ชำรุดบ้างและมีทั้งหมดกี่จุด เป็นที่ระบบต่าง ๆ หรือเป็นเฉพาะจุดใดจุดหนึ่ง เช่นเป็นการชำรุดของโครงสร้างตัวอาคารทรุด ดินทรุด หรือแตกร้าวที่โครงสร้าง เป็นการชำรุดของระบบประปา ระบบไฟฟ้า หรือเป็นการชำรุดในภายนอกในวัสดุตกแต่งต่าง ๆ เช่นกระเบื้องร่อน กระเบื้องแตก สีผนังลอก ฝ้าผุ เป็นต้น  เมื่อเราสำรวจความเสียหายได้เป็นขั้นตอนแรกเราก็จะสามารถดำเนินการในขั้นตอนต่อ ๆ ไปได้ง่ายขึ้น

 

2 ปรึกษาช่างหรือผู้เชี่ยวชาญ

หาช่างหรือผู้เชี่ยวชาญที่ไว้ใจได้และมีความรู้ความชำนาญในการซ่อมแซมแก้ไขเพื่อให้คำปรึกษาว่าจะดำเนินการอย่างไรได้บ้าง จะเป็นการซ่อมเฉพาะจุดที่ชำรุดหรือต้องรื้อในส่วนใดหรือไม่ หากทิ้งไว้อาจเกิดอันตรายต่อผู้อาศัย ระยะเวลาในการซ่อมคร่าว ๆ ใช้เวลานานแค่ไหน เป็นต้น

 

3 ประเมินราคา จัดเตรียมงบประมาณ

ในการประเมินราคาการซ่อมแซมและแก้ไขนั้นเป็นหน้าที่ของผู้รับเหมาหรือช่างที่จะประเมินราคาให้ เลือกผู้รับเหมาที่ไว้ใจได้ไม่ทิ้งงาน หรือเบิกเงินไปซื้อวัสดุในราคาที่สูงจนเกินไป ในขณะเดียวกันราคาการซ่อมแซมที่ผู้รับเหมาประเมินต่ำเกินไปก็ใช่ว่าจะดี เพราะถ้าราคาต่ำไปผู้รับเหมาเมื่อทำไม่ไหว ขาดทุน อาจจะหนีงานหรือเลือกใช้วัสดุซ่อมแซมไม่ดีให้ก็เป็นได้ วิธีที่ดีคือลองให้ผู้รับเหมาหรือช่างหลาย ๆ เจ้ามาประเมินราคาให้เพื่อเปรียบเทียบราคารวมถึงวิธีการแก้ไขที่ผู้รับเหมาแต่ละเจ้าให้คำแนะนำมา

 

4 จัดซื้อวัสดุอุปกรณ์

ขั้นตอนในการจัดซื้อวัสดุอุปกรณ์เพื่อใช้ในการซ่อมแซม มีสองลักษณะคือ เจ้าของบ้านเป็นผู้สั่งซื้อ จัดหาวัสดุในก่อสร้างเองแล้วเหมาค่าแรงช่างในการซ่อมแซม หรือให้ช่างเป็นผู้จัดหาวัสดุเหมารวมเบ็ดเสร็จไปในราคาค่าซ่อมแซมก็ได้

 

5 ดำเนินการซ่อมแซมแก้ไข

ในการดำเนินการซ่อมแซมแก้ไขบ้านชำรุด เจ้าของบ้านจะต้องควบคุมตรวจตราเป็นระยะให้ดี เพราะงานซ่อมแซมเป็นงานละเอียดและค่อนข้างยุ่งยากกว่าการสร้างขึ้นใหม่ในกรณีที่ซ่อมแซมหลายจุดหรือจุดใหญ่ ๆ เพื่อให้การซ่อมแซมแก้ไขบ้านชำรุดออกมาสมบูรณ์และใช้อยู่อาศัยได้ในระยะยาวอย่างคงทนและปลอดภัย

 

 การเกิดปัญหาบ้านชำรุไม่ว่าจะส่วนใดของตัวบ้านก็ตาม เป็นเรื่องที่เจ้าของบ้านต้องรีบดำเนินการแก้ไข เพราะหากปล่อยทิ้งไว้นาน จากจุดเล็กๆ ที่เสียเงินในการซ่อมแซมเล็กน้อย อาจจะกลายเป็นต้องรีโนเวทบ้านใหม่ทั้งหลังเลยก็เป็นได้

ซื้อวัสดุก่อสร้างอย่างไรให้คุ้มค่า

เมื่อเจ้าของบ้านหรือผู้รับเหมาจะต้องซื้อวัสดุในการก่อสร้างอาจจะเกิดความกังวลว่าจะเลือกซื้อวัสดุก่อสร้างอย่างไรให้คุ้มค่า ได้วัสดุก่อสร้างในสเป็คที่ต้องการ มีคุณภาพที่ดีได้มาตรฐานและอยู่ในงบประมาณที่วางเอาไว้ ในส่วนของผู้รับเหมาก่อสร้าง การเลือกซื้อวัสดุก่อสร้างเป็นเรื่องสำคัญมากเพราะจะหมายถึงคุณภาพของงานก่อสร้างที่ได้ผลงานออกมาดี  ลูกค้าพึงพอใจและเป็นผลดีต่องานรับเหมาต่อ ๆ ไปได้ ไม่เกิดปัญหาในการทำงานก่อสร้าง เพราะถ้าวัสดุก่อสร้างไม่ดีนอกจากจะเกิดความเสียหายต่อตัวงานก่อสร้างแล้ว อาจจะส่งผลถึงค่าใช้จ่ายในการก่อสร้างที่รับเหมามาให้ขาดทุนได้ ในส่วนของเจ้าของบ้านเองทั้งการสร้างบ้านและการต่อเติม ซ่อมแซมบ้านหลาย ๆ ครั้งเจ้าของบ้านจะต้องเป็นผู้เลือกซื้อวัสดุก่อสร้างเอง ถ้าเลือกได้ดี คุ้มค่า ได้มาตรฐานบ้านก็จะออกมาดี ใช้งานทนทานและสวยงามอย่างที่ต้องการ แต่ถ้าเลือกวัสดุก่อสร้างไม่ดีก็จะเกิดความเสียหายต่อบ้านและงบบานปลายได้ไม่คุ้มเสียก็เป็นได้ สำหรับวิธีในการเลือกวัสดุก่อสร้างให้คุ้มค่าอย่างง่ายๆ ก็คือ

 

1 เลือกวัสดุที่ได้มาตรฐาน

วัสดุก่อสร้างไม่ว่าประเภทใดต่างก็มีมาตรฐานในการผลิตและออกแบบไว้อยู่แล้ว อาจจะดูได้จากสัญลักษณ์แสดงการรับรองมาตรฐาน เช่น มอก. หรือปรึกษาผู้รู้ที่มีความเชี่ยวชาญเพื่อขอคำแนะนำเกี่ยวกับวัสดุนั้นๆ

 

2 เลือกตามสเป็คที่เหมาะสมกับการใช้งานจริง

งานก่อสร้าง ต่อเติม ซ่อมแซมบ้านและอาคารมีรายละเอียดที่แตกต่างกันไป แต่ละจุดแต่ละพื้นที่ต้องการวัสดุก่อสร้างที่แตกต่างกัน การเลือกวัสดุที่เหมาะสมในการใช้งานจริงจะทำให้ได้วัสดุก่อสร้างที่คุ้มค่าที่สุดนั่นเอง

 

3 พิจารณจากที่คุณภาพมากกว่าราคา

ราคาถูกไม่ใช่ว่าจะหมายถึงความคุ้มค่าเสมอไป ในทางกลับกันการซื้อวัสดุก่อสร้างราคาแพงก็ใช่ว่าจะได้ของที่คุ้มค่าคุ้มราคาเสมอไปเช่นกัน วัสดุก่อสร้างบางอย่างที่ราคาถูกเกินไปเมื่อนำมาใช้ก่อสร้าง ต่อเติม ซ่อมแซม อาจจะมีอายุการใช้งานที่ไม่ทน แตกหัก พัง เสียได้ง่าย ในขณะที่วัสดุแพง ๆ ก็อาจจะเป็นการล่อหลอกผู้ซื้อผู้ใช้ด้วยดีไซน์แต่คุณภาพใกล้เคียงกับของราคามาตรฐานได้

 

4 สำรวจราคาก่อนการตัดสินใจซื้อ

วัสดุก่อสร้าง ตามร้านและโชว์รูมก่อสร้าง ต่าง ๆ ในปัจจุบันมีให้เลือกมากมาย การสำรวจราคาแต่เนิ่น ๆ ก็จะดีกว่า เพราะวัสดุประเภทเดียวกันบางแห่งขายถูกกว่า หรือมีการจัดรายการโปรโมชั่นต่าง ๆ ทำให้ซื้อวัสดุแบบเดียวกันในราคาที่คุ้มกว่า ยิ่งในปัจจุบันมีร้านค้าวัสดุก่อสร้างออนไลน์มากมาย ซึ่งคุณก็สามารถที่จะเปรรียบเทียบราคาได้อย่างง่ายดายแถมสะดวกและรวดเร็วอีกด้วย

 

5 คำนวนขนาดและปริมาณให้พอดีหรือเผื่อเล็กน้อย

หลายครั้งที่ผู้รับเหมา ช่าง หรือตัวเจ้าของบ้านเอง ซื้อวัสดุก่อสร้างมาเกินจำนวนที่ต้องการใช้จริงมากต้องกองทิ้งไว้ไม่ได้ใช้ประโยชน์ หรือคำนวนปริมาณ สเป็ค และขนาดผิด หรือได้สเป็คที่ไม่เหมาะสมทำให้เลือกซื้อมาในปริมาณที่น้อยเกินไปทำให้ต้องไปซื้อหลาย ๆ เที่ยว อาจจะได้ราคาที่แพงขึ้นหรือของหมดไม่สามารถหาซื้อให้เหมือนกับที่ขาดไปได้ ดังนั้นก่อนซื้อต้องคำนวณให้แม่นยำก่อน

 

ทั้งหมดนี้ก็เป็นเทคนิคง่ายๆ ที่ช่วยให้การเลือกซื้อวัสดุก่อสร้างด้วยตัวคุณเองเป็นเรื่องที่ง่ายและสามารถทำได้จริง ซึ่งบางทีคุณอาจจะได้ราคาที่ถูกกว่าการให้ผู้รับเหมาจัดหามาก็เป็นได้

ก่อนสร้างบ้านควรจะเตรียมตัวอย่างไร ?

การสร้างบ้านสักหลังหนึ่งถือเป็นเรื่องใหญ่ ทั้งด้วยงบประมาณค่าใช้จ่ายที่จะต้องใช้ในการสร้างบ้าน เป็นค่าใช้จ่ายที่นับเป็นเงินก้อนโตที่สุดก้อนหนึ่งในชีวิตคนเรา เมื่อลงทุนสร้างบ้านขึ้นมาหนึ่งหลังก็จะใช้ชีวิตและอยู่อาศัยในบ้านไปอีกเป็นเวลานาน ครอบครัวและคนที่รักก็จะอาศัยอยู่ร่วมกันในบ้านที่สร้างใหม่หลังนี้ ดังนั้นบ้านที่กำลังจะสร้างจึงต้องสมบูรณ์แบบทั้งในด้านของการก่อสร้างที่มีรากฐานและวัสดุแข็งแรง คงทน มั่นคง และการตกแต่งสวยงามถูกใจเจ้าของบ้านและสมาชิกในบ้าน รวมถึงการออกแบบให้ใช้สอยได้อย่างลงตัวเหมาะกับการใช้ชีวิตของคนในบ้านด้วย ก่อนที่จะสร้างบ้าน เจ้าของบ้านและสมาชิกในบ้านจึงต้องมีการเตรียมตัวให้พร้

อมในด้านต่าง ๆ ดังนี้

 

1 งบประมาณที่ตั้งไว้

สิ่งแรกที่ใครก็ตามที่ต้องการสร้างบ้านเป็นเจ้าของบ้านจะต้องเตรียมพร้อมไว้ก็คืองบประมาณในการก่อสร้างบ้าน นับเป็นปัจจัยและองค์ประกอบแรกก่อนการสร้างบ้านเตรียมเงินให้พร้อมทั้งช่องทางสินเชื่อ การติดต่อของสินเชื่อในการสร้างบ้าน คำนวนรายได้และเงินออมว่าสามารถกู้สินเชื่อในการสร้างบ้านได้เท่าไหร่ หรือมีงบประมาณและเงินก้อนที่จะสร้างบ้านอยู่แล้วเท่าไหร่ เพราะงบประมาณคือสิ่งแรกที่จะกำหนดขั้นตอนต่อ ๆ ไปได้ว่าเราจะสร้างบ้านได้แบบใด ขนาดเท่าไหร่ ในทำเลใดนั่นเอง

 

2 สำรวจความต้องการของผู้อยู่อาศัยในบ้าน

บ้านนั้นสร้างขึ้นเพื่อเป็นที่อยู่อาศัยของสมาชิกในครอบครัว อาจจะสร้างเพื่ออยู่กับพ่อแม่ คู่แต่งงานใหม่ หรือย้ายจากบ้านเดิมที่คับแคบ เปลี่ยนที่อยู่ภูมิลำเนาหรือเหตุผลใดก็ตาม ความจำเป็นและความต้องการของสมาชิกครอบครัวคือการเตรียมตัวที่จะต้องมีก่อนการสร้างบ้าน เพื่อจะสร้างบ้านที่รองรับความต้องการและไลฟ์สไตล์ของคนในบ้านได้ตรงใจทุกคน

 

3 แบบแปลนในการสร้างบ้าน

เจ้าของบ้านจะต้องเตรียมในเรื่องของแบบแปลนบ้าน อาจสำรวจจากแบบแปลนแหล่งต่าง ๆ ว่าชอบแบบใดดูคร่าว ๆ เสียก่อน และจึงเข้าไปคุยกับทางบริษัทผู้รับเหมาหรือสถาปนิกออกแบบบ้าน เพื่อให้ได้แบบบ้านที่จะนำมาประเมินราคาก่อสร้างต่อไป

 

4 ทำเลที่ตั้งในการสร้างบ้าน

จัดเตรียมทำเลที่ตั้งของบ้านให้เรียบร้อย บ้านหนึ่งหลังก่อนที่จะสร้างต้องใช้ระยะเวลาในการเตรียมที่ดิน ถ้าเป็นที่ดินซื้อใหม่ยังไม่มีการถมปรับหน้าดิน เจ้าของบ้านต้องถมหน้าดินและทิ้งไว้รอระยะเวลาให้ดินเซ็ตตัวก่อนอย่างน้อย 6 เดือนเพื่อไม่ให้ดินทรุดเมื่อสร้างบ้าน การเตรียมที่ดินยังเป็นตัวกำหนดการวางตัวของบ้านว่าจะให้หน้าบ้านและหน้าต่างไปทางทิศใดจึงจะดี รับลมและอยู่อาศัยสบาย เป็นต้น

 

5 มองหาบริษัทหรือผู้รับเหมาในการก่อสร้าง

ขั้นตอนเตรียมการสุดท้ายก่อนการก่อสร้างคือมองหาบริษัทรับเหมาหรือผู้รับเหมาก่อสร้างบ้าน ลองหาดูหลาย ๆ เจ้าเปรียบเทียบราคา คุณภาพและผลงานก่อนการตัดสินใจ

 

ทั้ง 5 ข้อนี้ก็เป็นสิ่งที่ผู้ที่กำลังจะเป็นเจ้าของบ้านหรือสร้างบ้านหลังใหม่ต้องวางแผนและคิดให้ละเอียดรอบคอบ เพื่อให้ได้บ้านที่คุ้มค่าที่สุดโดยไม่ต้องเสียเงินการซ่อมแซม หรือต่อเติมในภายหลังนั่นเอง

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • เปิดใช้งานตลอด

บันทึกการตั้งค่า